เมนู

ยังเสด็จปรินิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงยังความหวังในชีวิต. ให้เกิดได้.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวว่า อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแสดงซึ่งเทศนา
สมบัติ เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา ชื่อว่าย่อมแสดงสาวกสมมติ เมื่อ
กล่าวว่า สมัยหนึ่ง ชื่อว่าย่อมแสดงกาลสมบัติ เมื่อกล่าวว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ชื่อว่าย่อมแสดงเทสกสมบัติ.

แก้อรรถคำ อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ


อนฺตรา ศัพท์ในคำว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา
จ นาลนฺทํ

เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง เป็นต้น
อนฺตราศัพท์เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย อญฺญตฺร ตถาคตา ใครจะพึงรู้เหตุนั้น นอก
จากพระตถาคต และว่า ชนา สงฺคมฺม มนฺเตนฺติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตรํ
ชนทั้งหลายมาประชุมปรึกษาเหตุอะไรกะข้าพเจ้าและกะท่าน.
ในเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อทฺทส มํ ภนฺเต
อนุตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชนํ โธวนฺตี
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะ ฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์.
ในเนื้อความว่า จิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น
สนฺติ โกปา
ความกำเริบไม่มีในจิตของบุคคลใด.
ในเนื้อความว่า ท่ามกลาง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อนฺตรา
โวสานมาปาทิ
ถึงที่สุดในท่ามกลาง.
ในเนื้อความว่า ระหว่าง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อปิจายํ ตโปทา
ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนฺตริกายาคจฺฉนฺติ
อีกอย่างหนึ่ง บ่อน้ำร้อน

ชื่อตโปทานี้ มาในระหว่างมหานรกทั้งสอง.
อนฺตร ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้เป็นไปในเนื้อความว่า ระหว่าง. เพราะ
ฉะนั้น ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์
และนาลันทา. แต่เพราะท่านประกอบด้วย อนฺตรศัพท์ ท่านจึงทำเป็น
ทุติยาวิภัตติ. ก็ในฐานะเช่นนี้ นักอักษรศาสตร์ทั้งหลาย ใช้ อนฺตรา
ศัพท์เดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ ไประหว่าง
บ้านและแม่น้ำ. อนฺตราศัพท์นั้น ควรใช้ในบทที่สองด้วย เมื่อไม่ใช้
ย่อมไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. แต่ในที่นี้ท่านใช้ไว้แล้ว จึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.

แก้อรรถบท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ เป็นต้น


บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ทรงดำเนินสู่ทาง
ไกล อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่า ทางไกล โดยพระ
บาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่า เราจัก
เดินทางกึ่งโยชน์. ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์
หนึ่ง.
บทว่า ใหญ่ ในคำว่า กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ความว่า ใหญ่ทั้ง
โดยคุณทั้งโดยจำนวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่โดยคุณ เพราะ
ประกอบด้วยคุณธรรม มีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ชื่อว่า
ใหญ่โดยจำนวน เพราะมีจำนวนถึงห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า
ภิกษุสงฆ์ ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะ กล่าวคือเป็นพวก
ที่มีความเสมอกันด้วยทิฏฐิและศีล. บทว่า กับ คือโดยความเป็นอันเดียว
กัน.
บทว่า ภิกษุประมาณห้าร้อย มีวิเคราะห์ว่า ประมาณของภิกษุ